บ้านหรือทาวน์เฮ้าส์ ที่เราอาศัยอยู่มาเป็นเวลานาน ส่วนมากฝ้าเพดานจะมีสภาพที่ดูเก่า โทรม หมอง และบางครั้งอาจมีอาการผุ บวมน้ำ ลอกร่อน หรือขึ้นรา ซึ่งเป็นภาพที่ไม่น่าชมสำหรับบ้านของเรา และยังอันตรายต่อการอยู่อาศัยอีกด้วย การเปลี่ยนฝ้าเพดานใหม่ก็เหมือนกับว่าเราได้ห้องใหม่ ได้เปลี่ยนบรรยากาศใหม่ๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนฝ้าเพดานสำหรับบ้านเก่า ที่เป็นฝ้าแบบทีบาร์ (T-Bar) กันให้สวยงาม ทันสมัย ไฉไล และไม่ซ้ำกับบ้านใครอีกด้วยครับ
สำหรับฝ้ายิปซัมแบบทีบาร์ (T-Bar) นั้นมักจำนิยมใช้กันเนื่องจากติดตั้งง่าย สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขซ่อมแซมได้ง่าย ราคาประหยัด และน้ำหนักเบากว่าฝ้าแบบอื่นครับ และด้วยคุณสมบัติของยิปซัมคือปลอยภัย ปราศจากใยหินและฝุ่งผงไฟเบอร์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย
สำหรับขั้นตอนการปรับเปลี่ยนฝ้าเพดานแบบทีบาร์ มีดังนี้
1. ทำการรื้อฝ้าทีบาร์เก่าออกจากโครงคร่าว สำหรับการรื้อฝ้าออกทำได้ง่ายๆครับ แค่ใช้มือดันฝ้าขึ้นไปด้านบนเบาๆ แล้วค่อยๆประคองแผ่นฝ้าตะแคงลงมาทางช่องโครงคร่าวเดิมครับ
2. ตรวจสอบโครงคร่าวเดิม ต้องทำการตรวจสอบโครงคร่าวเดิมว่ามีสภาพพร้อมใช้งานอยู่หรือไม่ ไม่ผุพัง และมีความแข็งแรงพอ รวมถึงต้องได้ระดับที่เสมอกันทั้งห้องอีกด้วยครับ ซึ่งในส่วนนี้อาจพิจารณาด้วยตัวเองก็ได้ครับ หรืออาจใช้อุบกรณ์ที่สามารถวัดระดับน้ำในการช่วยวัด หรือถ้าสภาพโครงเดิมดูผุพัง ควรเรียกช่างงานฝ้ามาตรวจสอบหน้างานก่อนครับ
3. ติดตั้งฝ้ายิปซัม แบบทีบาร์ (T-Bar) ทำการติดตั้งฝ้าแบบทีบาร์ที่เราเตรียมไว้ครับ ซึ่งอาจจะใช้รูปแบบเดิมลายเดิมก็ได้ครับ หรือถ้าใครอายจจะเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ ให้สวยงาม โดดเด่น และไม่ซ้ำกับฝ้าบ้านอื่น เราก็สามารถออกแบบได้เองครับ เพียงเลือกซื้อฝ้ายิปซัม แบบทีบาร์ หลากหลายรูปแบบมา mix&match กันครับ และทำการออกแบบการจัดเรียงแผ่นฝ้าด้วยการวาดจะช่วยให้เห็นภาพได้ง่ายขึ้นครับ ซึ่งการใช้ฝ้าหลากหลายแบบมาผสมผสานกันก็ช่วยให้ห้องของคุณดูใหม่ และไม่น่าเบื่ออีกด้วยครับ
ระบบฝ้า
ระบบผนัง
ระบบหลังคา
ตกแต่งภูมิทัศน์
สีและสกรู
อื่นๆ
อย่างที่เราก็รู้กันดีว่าเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ยิ่งถ้าเข้าสู่หน้าร้อนแล้วสภาพอากาศบ้านเราก็ไม่ต่างจากเตาอบซักเท่าไหร่
ลงพื้นที่สำรวจหน้างานจริงย่านทุ่งสองห้อง จ.กรุงเทพฯ กับทีมช่างงานหลังคาและเชิงชายมือเก๋า
จะออกบ้านไปทำธุระก็ร้อนแดด กลับบ้านมาก็ร้อนอย่างกับเตาอบ วันนี้เราเลยมีวิธีดีๆในการเสริมเกราะให้กับบ้านของเราเพื่อสู้กับความร้อน
วัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่ มีส่วนประกอบของใยหิน ที่ส่งผลต่อสุขภาพของเราในระยะยาว แถมจะก่อให้เกิดฝุ่นใยหิน ที่มีอนุภาคที่เล็กกว่า PM2.5
หลายคนมักประสบปัญหาเกี่ยวกับการเก็บสีหัวสกรูจากการทาไม้ไฟเบอร์ซีเมนต์ (ไม้สังเคราะห์) ทำให้สีด่างในบริเวณที่โป๊วหัวสกรู
รับมือหน้าฝน หมดปัญหาการรั่วซึม พอเข้าฤดูฝน หลายๆ บ้านต้องเริ่มหาถัง กะละมัง
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่
ข้อตกลงและเงื่อนไข | นโยบายความเป็นส่วนตัว
เราใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุกกี้ได้ที่
ข้อตกลงและเงื่อนไข
นโยบายความเป็นส่วนตัว